ในช่วงนี้หลายคนคงได้ยินกับคำว่า “เงินเฟ้อ” โดยภาวะเงินเฟ้อ หรือ ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุหลัก คือ 1.ด้านอุปสงค์ (Demand) 2.ด้านอุปทาน (Supply)คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำหรับปัจจัยด้านอุปสงค์นั้น สะท้อนว่าเศรษฐกิจมีการเติบโตได้ดีต่อเนื่อง และรายได้ของคนยังเพิ่มขึ้นด้วย ด้วยปัจจัยนี้ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าและบริการมีมากขึ้น แต่ปริมาณสินค้าและบริการผลิตออกมาไม่เพียงพอหรือไม่ทันต่อความต้องการ ทำให้ด้วยเหตุนี้ ราคาสินค้าและบริการจึงเพิ่มขึ้น และส่งผลมายังให้เงินเฟ้อสูงขึ้นด้วย
ขณะที่ปัจจัยด้านอุปทาน เกิดจากผลผลิตขาดแคลนจากปัญหาด้านการผลิต หรือเกิดภัยธรรมชาติ โรคระบาด ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน ผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการต้องปรับราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ทำให้ส่งผลมายังราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น คนต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น จนเงินเฟ้อสูงขึ้นนั่นเอง
คำถามที่เกิดขึ้นคือ หน่วยงานที่รับผิดชอบอย่าง “ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ” ได้ประกาศจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อหวังสกัดเงินเฟ้อที่พุ่งแรงในครั้งนี้ แล้วการขึ้นดอกเบี้ยจะดูแลเงินเฟ้อได้จริงหรือ?
มาดูหลักการจาก “แบงก์ชาติ” เปรียบเทียบระหว่างเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากทั้งอุปสงค์และอุปทาน โดยใช้เครื่องมือดอกเบี้ยนโยบายในการดูแล
-เงินเฟ้อที่เกิดจากปัจจัยอุปสงค์ เศรษฐกิจเติบโตร้อนแรงเกินไป และอัตราเงินเฟ้อสูง ทำให้แบงก์ชาติต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลให้ธนาคารปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ตามมาด้วย ก่อนจะส่งผ่านไปยังประชาชนและภาคธุรกิจ
โดยภาคครัวเรือน จะลดการใช้จ่าย เลือกที่จะออมเงินมากขึ้นเพื่อดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่ม ส่วนภาคธุรกิจ ลดการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อลงทุน เพราะดอกเบี้ยเงินกู้แพงขึ้น ซึ่งสุดท้ายจะทำให้เศรษฐกิจลดความร้อนแรงลงไปโดยปริยาย
-เงินเฟ้อที่เกิดจากปัจจัยอุปทาน ซึ่งปกติเงินเฟ้อฝั่งนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราว และจะทยอยลดลงหลังจากปัจจัยลบ หรือ shock ที่เกิดขึ้นคลี่คลายลงไป โดยกรณีนี้แบงก์ชาติจะยังไม่จำเป็นต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เหมือนกับช่วงแรกที่เงินเฟ้อไทยพุ่งขึ้นจากราคาน้ำมันที่ขยับเพิ่ม จากปัจจัยต่างประเทศที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งขณะนั้นราคาสินค้าตัวอื่นๆ ยังไม่ปรับขึ้นตาม
แต่พอเวลาผ่านไปเงินเฟ้อฝั่งนี้ก็ยังเพิ่มสูงเป็นเวลานาน และนานขึ้น ทำให้คนเริ่มเปลี่ยนมุมมองต่อเงินเฟ้อ โดยคิดว่า เงินเฟ้อจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้ประกอบการขอปรับราคาสินค้าและบริการขึ้น ตามต้นทุนที่สูงขึ้น และลูกจ้างต่างขอปรับขึ้นค่าแรงต่อเนื่อง
ดังนั้นการที่ราคาสินค้าและบริการได้ปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบมายังค่าครองชีพของประชาชนและต้นทุนของภาคธุรกิจให้ปรับเพิ่มตาม และผลสุดท้ายจะสร้างผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจไทยได้
สุดท้ายแล้วเหตุผลและปัจจัยในกรณีนี้ แบงก์ชาติ จะต้องรีบปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนและภาคธุรกิจว่าเงินเฟ้อจะไม่เพิ่มขึ้นอีกในระยะข้างหน้า เพราะกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะมีผลทำให้เงินเฟ้อลดลงก็คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะ ถ้าหากไม่ทำตอนนี้ ก็อาจต้องใช้ยาที่แรงขึ้นในวันข้างหน้า